คุณกำลังมองหาอะไร?

 

 

แนวทางการดำเนินงานเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ

ของเจ้าหน้าที่ของศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศ

          ศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศจัดทำช่องทางการร้องเรียนเพื่อให้การดำเนินงานของศรป. เป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ศรป. และกำหนดแนวทางเรื่องร้องเรียนการทุจริต ดังนี้

วัตถุประสงค์

     1. เพื่อให้มีระบบและแนวทางดำเนินการสำหรับเรื่องร้องเรียนและเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำผิดและการทุจริต

     2. เพื่อกำหนดช่องทางสำหรับบุคลากรกรมอนามัยหรือบุคคลภายนอกในการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสการกระทำผิดหรือทุจริต

     3. เพื่อป้องปรามไม่ให้เจ้าหน้าที่กระทำความผิดและทุจริต

     4. เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริตจากการถูกข่มขู่คุกคาม หรือการกระทำในลักษณะที่เป็นการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

มาตรการ

    1. ช่องทางการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแสการกระทำการทุจริต

          บุคลากร ศรป.ทุกคนมีหน้าที่ในการสอดส่องดูแล หากพบว่าบุคลากรรายใดมีการกระทำที่เข้าข่ายกระทำการทุจริต อันอาจทำให้เกิดข้อครหาซึ่งส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือในการทำหน้าที่ของศรป. บุคลากรที่พบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายลักษณะดังกล่าว ต้องให้ความร่วมมือในการแจ้งเบาะแสการกระทำดังกล่าวต่อ ศรป.โดยตรง โดย ศรป. ได้จัดให้มีช่องทางการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแสไว้ดังนี้

          1) ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศ โทรศัพท์ 0 2590 4737

          2) งานรับเรื่องร้องเรียน แจ้งผ่านช่องทาง e-mail: cic.doh@anamai.mail.go.th

          ทั้งนี้ ข้อร้องเรียนหรือเบาะแสต้องเป็นเรื่องที่มีข้อมูลข้อเท็จจริง ซึ่งผู้ร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแสได้ประสบมา หรือรับรู้จากแหล่งที่น่าเชื่อถืออ้างอิงได้ และหากผู้ร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแสสามารถระบุพยานหลักฐานหรือพยานบุคคล ซึ่งสามารถให้รายละเอียดเหตุการณ์ หรือวันเวลาที่ชัดเจนได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานของ ศรป.

    2. การบังคับใช้

          ผู้อำนวยการ ศรป. และงานการเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่ติดตาม ควบคุมดูแลมิให้มีการกระทำการทุจริต

    3. ผู้รับผิดชอบ ผู้อำนวยการ และงานการเจ้าหน้าที่ กลุ่มอำนวยการ ศรป.

    4. กระบวนการดำเนินการเมื่อได้รับแจ้งเบาะแสการกระทำการทุจริต

       1. งานการเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส

       2. งานการเจ้าหน้าที่แจ้งการรับเรื่องไปยังผู้ร้องเรียน/ผู้แจ้งเบาะแสได้ทราบ (1 วัน)

       3. งานการเจ้าหน้าที่รวบรวมและตรวจสอบข้อเท็จจริง และแจ้งเรื่องไปยังกองการเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการตามหลักเกณฑ์และกระบวนการขั้นตอนของกองการเจ้าหน้าที่ที่กำหนดไว้

       4. งานการเจ้าหน้าที่ประสานกองการเจ้าหน้าที่สอบถามความก้าวหน้าการดำเนินงาน เพื่อจัดทำสรุปและแจ้งผู้ร้องเรียน/ผู้แจ้งเบาะแสทราบ

    5. มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน/ผู้แจ้งเบาะแส

       ผู้ร้องเรียน/ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูล จะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้

       1. ผู้ร้องเรียน/ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูล ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตนเอง

       2. ผู้ร้องเรียน/ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูล หรือให้ข้อมูลโดยสุจริตจะไม่ถูกดำเนินการลงโทษทางวินัย

       3. กรณีผู้ร้องเรียน/ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูล เชื่อว่าตนเองถูกข่มขู่ รบกวนการทำงาน กลั่นแกล้ง หรือทำให้ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง หากยังไม่ได้รับการแก้ไขให้รายงานผ่านช่องทางร้องเรียน

 

แบบฟอร์มร้องเรียน/แจ้งเบาะแสการทุจริตของเจ้าหน้าที่